พบสิ่งมีชีวิตใหม่กว่า 5,000 สายพันธุ์ใต้มหาสมุทรแปซิฟิก

“การทำเหมืองใต้ทะเล” เป็นอุตสาหกรรมที่ยังคงมีนักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะ ณ ใต้มหาสมุทรและทะเลลึกยังคงมีทรัพยากรจำนวนมากหลงเหลืออยู่ แต่ในขณะเดียวกัน การทำเหมืองใต้ทเลก็สร้างความกังวลว่าจะเกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและความสมบูรณ์ทางสิ่งแวดล้อมของพื้นที่นั้น ๆ หรือไม่

หนึ่งในพื้นที่ที่บริษัทเหมืองใต้ทะเลให้ความสนใจ คือพื้นที่เขตคลาเรียน-คลิปเปอร์ตัน (CCZ) ซึ่งเป็นพื้นที่ใต้มหาสมุทรแปซิฟิกที่อุดมด้วยแร่ธาตุ กินพื้นที่ 4.4 ล้านตารางกิโลเมตรระหว่างฮาวายและเม็กซิโก

นักวิจัยช็อก! การ “รีไซเคิลพลาสติก” สร้าง “ไมโครพลาสติก” จำนวนมหาศาล?

สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เพิ่งถูกพบในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง กำลังถูกคุกคาม

จำนวนประชากรสัตว์ป่าบนโลก กำลังลดลงเร็วกว่าที่คาด!

แต่ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์รายงานการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่กว่า 5,000 สายพันธุ์ในบริเวณเขตคลาเรียน-คลิปเปอร์ตันดังกล่าว นับเป็นครั้งแรกที่มีการบันทึกข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่นี้

การค้นพบนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการประเมินความเสี่ยงของการสูญพันธุ์ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิต เนื่องจากหากมีการทำสัญญาสำหรับการทำเหมืองใต้ทะเลลึกเกิดขึ้น ก็คาดว่าจะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสิ่งมีชีวิตในบริเวณนี้

นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า สิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ที่พบส่วนใหญ่แทบไม่มีใครเคยพบมาก่อน และเกือบทั้งหมดมีลักษณะเฉพาะของภูมิภาคนี้ มีเพียง 6 ชนิดเท่านั้นที่เคยถูกพบในที่อื่น

ที่ผ่านมา มีการมอบสัญญาอนุญาตสำรวจเหมืองแร่ใต้ทะเลในเขต CCZ ให้กับผู้รับเหมาเหมืองแร่ใต้ทะเล 17 ราย ครอบคลุมพื้นที่กว่า 1.9 ล้านตารางไมล์กิโลเมตร

บริษัทเหล่านี้ ศึ่งส่วนได้รับการสนับสนุนจากประเทศต่าง ๆ เช่น สหราชอาณาจักร สหรัฐฯ และจีน ต้องการใช้ประโยชน์จากแร่ธาตุที่มีใต้ทะเล เช่น โคบอลต์ แมงกานีส และนิกเกิล ส่วนหนึ่งเพื่อขายให้กับภาคพลังงานทางเลือก

เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบของการทำเหมืองแร่ต่อระบบนิเวศที่เปราะบางนี้และสิ่งมีชีวิตที่เพิ่งถูกค้นพบได้ดียิ่งขึ้น ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติได้ร่างรายการตรวจสอบ CCZ รายการแรกขึ้น โดยรวบรวมบันทึกทั้งหมดจากการเดินทางไปยังภูมิภาคนี้ ตีพิมพ์ในวารสาร Current Biology รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ รวม 5,578 สปีชีส์ ซึ่งประมาณ 88-92% ไม่เคยพบถูกเห็นมาก่อน

มูเรียล ราโบน นักนิเวศวิทยาใต้ท้องทะเลลึกจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (NHM) หัวหน้าทีมผู้รายงานการค้นพบ กล่าวว่า “เราแบ่งปันดาวเคราะห์ดวงนี้กับสิ่งมีชีวิตที่น่าทึ่งเหล่านี้ และเรามีหน้าที่รับผิดชอบในการทำความเข้าใจและปกป้องมัน”

ด้าน ดร.เอเดรียน โกลเวอร์ นักชีววิทยาใต้ทะเลลึกของ NHM และหนึ่งในทีมสำรวจเขต CCZ ยืนยันว่า ข้อมูลทั้งหมดที่รวบรวมเป็นแบบเปิด และได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียแล้ว

โกลเวอร์กล่าวว่า ก้นทะเลเป็นสถานที่ที่น่าทึ่ง โดยแม้จะหนาวเย็นและมืดมิด แต่สิ่งมีชีวิตก็ยังสามารถเติบโตและใช้ชีวิตได้ “ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของก้นทะเลคือการขาดแคลนอาหาร แต่ชีวิตยังมีหนทางของมัน … มันเป็นเรื่องลึกลับมาก”

ในเรื่องของการทำเหมืองใต้ทะเล โกลเวอร์กล่าวว่า เขาเชื่อว่า ”มันเป็นเรื่องจำเป็นที่เราต้องทำงานร่วมกับบริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการขุดทรัพยากรเหล่านี้ เพื่อให้แน่ใจว่ากิจกรรมดังกล่าวได้ดำเนินการในลักษณะที่จำกัดผลกระทบต่อธรรมชาติ”คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

สำหรับตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่พบใต้ทะเลในเขต CCZ นั้น เช่น สัตว์ทะเลน้ำลึกชนิดหนึ่งที่เพิ่งถูกค้นพบซึ่งมีการตั้งชื่อเล่นว่า “กระรอกเหนียวหนึบ” (Gummy Squirrel) เนื่องจากหางที่ใหญ่โตและรูปร่างคล้ายเยลลี่ของมัน

 พบสิ่งมีชีวิตใหม่กว่า 5,000 สายพันธุ์ใต้มหาสมุทรแปซิฟิก

นอกจากนี้ยังมีฟองน้ำแก้ว ซึ่งบางสายพันธุ์ดูเหมือนแจกัน ขณะที่ประเภทของสิ่งมีชีวิตที่พบมากที่สุดในเขต CCZ ได้แก่ สัตว์ขาปล้อง หนอน สัตว์ในตระกูลแมงมุม และเอไคโนเดิร์ม (สัตว์จำพวกดาวทะเล) รวมถึงสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีหนาม เช่น เม่นทะเล และฟองน้ำ

เรียบเรียงจาก The Guardian

ภาพจาก Smartex Project/NERC

By admin

Related Post