สร้างปีหน้า! ศูนย์ขนส่งสินค้านครพนม 1.3 พันล้าน

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้า จ.นครพนม วงเงินรวม 1,361 ล้านบาท พื้นที่ 121 ไร่ หลังจากที่ ขบคำพูดจาก เว็บสล็อตแมชชีน. ได้ออกประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุน (PPP Net cross)เมื่อปี 64 แล้วมีเอกชนซื้อซองประมูลทั้งหมด 6 ราย ประกอบด้วย 1.บริษัท ชาญนครวิศวกรรม จํากัด 2.บริษัท วีอาร์ไพล์ จำกัด 3.บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด 4.บริษัท ไพโอเนียร์ โกลบอล ซัพพลาย จำกัด 5.บริษัท อีสเทิร์นซี แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด และ 6.บริษัท สินธนโชติ จำกัด โดยในจำนวนนี้มีบริษัทที่ยื่นข้อเสนอโครงการฯ แค่ 1 ราย คือ บริษัท สินธนโชติ จำกัด จากนั้น ขบ. ดำเนินตรวจสอบคุณสมบัติตามขั้นตอนคำพูดจาก เว็บสล็อตเ

ปัจจุบันได้จัดทำร่างสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนผู้ผ่านการยื่นข้อเสนอและส่งร่างสัญญาต่อสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบแล้วเสร็จ ปัจจุบันสำนักงานอัยการสูงสุดมีความคิดเห็นให้ปรับข้อมูลเล็กน้อย คาดว่าจะดำเนินการให้เรียบร้อยเร็วๆ นี้ โดยจะเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และกระทรวงการคลัง ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ ภายในเดือน ก.ย.65 จากนั้นคาดว่าจะลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนได้ภายในปี 65

นายจิรุตม์ กล่าวต่อว่า หากลงนามสัญญากับเอกชนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จากนั้นจะดำเนินการเวนคืนที่ดิน เพื่อก่อสร้างโครงการฯ ระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยภาครัฐจะเป็นผู้เริ่มดำเนินการเตรียมพื้นที่เวนคืนที่ดินและระบบสาธารณูปโภค วงเงิน 685 ล้านบาท เพื่อเริ่มก่อสร้างภายในปี 66 ก่อนภาคเอกชนจะเข้ามาดำเนินการลงทุนก่อสร้างโครงการฯ เพิ่มเติม วงเงิน 676 ล้านบาท ประกอบด้วย อาคารคลังสินค้า อุปกรณ์เครื่องมือการใช้งาน รวมทั้งการก่อสร้างอาคารที่ก่อให้เกิดรายได้ในพื้นที่ คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 68 

ทั้งนี้เอกชนที่เข้าร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าวจะต้องรับผิดชอบลงทุนค่าก่อสร้างในองค์ประกอบอาคารที่ก่อให้เกิดรายได้และเครื่องมือและอุปกรณ์ และเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนของการดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ (O&M)ในส่วนอาคารที่อยู่ในความรับผิดชอบของเอกชนและโครงสร้างพื้นฐานส่วนกลาง รวมทั้งเป็นผู้รับความเสี่ยงทางด้านรายได้ ตามรูปแบบการร่วมลงทุนแบบPPP Net Costตลอดระยะเวลาโครงการ 30 ปีนับจากปีเปิดให้บริการ

นายจิรุตม์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้มีแผนจะดำเนินโครงการศึกษาศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเพิ่มเติมอีก 3 จังหวัด ได้แก่ จ.หนองคาย สุราษฎร์ธานี และ มุกดาหาร เบื้องต้นโครงการศึกษาศูนย์ขนส่งสินค้า จ.หนองคาย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ให้ ขบ. ช่วยพิจารณาโครงการฯ เพราะเป็นศูนย์ขนส่งสินค้าที่ใหญ่ที่สุด โดย ขบ. มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นผู้ดำเนินการ เพื่อดำเนินการเวนคืนที่ดินให้น้อยที่สุด เนื่องจาก รฟท. มีโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายขนส่งสินค้าบริเวณสถานีรถไฟนาทา ซึ่งจะเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสินค้าและรองรับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน รวมทั้งโครงการรถไฟลาว-จีน ในอนาคต

ขณะที่โครงการศึกษาศูนย์ขนส่งสินค้า จ.สุราษฎร์ธานี และมุกดาหาร สนข. อยู่ระหว่างทบทวนผลศึกษารายละเอียดความเหมาะสมของโครงการฯ ใหม่ ควบคู่กับการศึกษาในการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP)เนื่องจากผลการศึกษาเดิมเป็นพื้นที่ที่ยังไม่ตอบโจทย์ในการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งทางราง ทำให้ต้องศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้โครงการฯ อยู่ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงระบบขนส่งทางรางมากที่สุด

สาเหตุที่เลือกศึกษาพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี เนื่องจากเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางการผลิตและแหล่งวัตถุดิบในการขนส่งสินค้าทางภาคใต้ ซึ่งจากการประเมินถือเป็นแหล่งที่เหมาะสมที่สุดและเป็นศูนย์การขนส่งที่ใกล้จังหวัดอื่นๆ ด้วย ส่วน จ.มุกดาหาร เป็นจังหวัดที่เชื่อมต่อกับแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว และเชื่อมต่อประเทศเวียดนาม คาดว่าจะเร่งรัดศึกษาทั้ง 2 โครงการฯ ให้แล้วเสร็จภายในปี 65 จากนั้นจะได้วางแนวทางดำเนินการต่อไป

By admin

Related Post