นักวิทย์เสนอ เพิ่มการจัดระดับความรุนแรงพายุเฮอริเคนให้มี “ระดับ 6”

“พายุ” ถือเป็นหนึ่งในภัยธรรมชาติที่เป็นอันตรายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และด้วยวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในปัจจุบัน ก็ยิ่งทำให้พายุทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

นักวิทย์เสนอ เพิ่มการจัดระดับความรุนแรงพายุเฮอริเคนให้มี “ระดับ 6”

หนึ่งในประเภทของพายุที่มีความรุนแรงมากขึ้นในระยะหลังมานี้คือ “เฮอริเคน” (Hurricane) หรือพายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก หรือมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันออก

น้ำท่วมฉับพลันในนครลอสแอนเจลิส หลังพายุรุนแรงพพัดถล่ม

ไฟป่าครั้งใหญ่ของชิลีคร่าชีวิตผู้คนเพิ่มขึ้นเป็น 112 รายแล้ว

สภาพอากาศสุดขั้ว อเมริกาใต้ร้อนจัด สหรัฐฯ-ยุโรป พายุถล่ม

เดิมทีการวัดระดับความรุนแรงของพายุเฮอริเคนจะใช้มาตรวัดความเร็วลมเฮอริเคนซาเฟียร์-ซิมป์สัน (Saffir-Simpson Hurricane Wind Scale) ซึ่งแบ่งระดับความรุนแรงเฮอริเคนออกเป็น 5 ระดับ (Category) คือ

  • ระดับ 1 ความเร็วลม 74-95 ไมล์/ชม. (119-153 กม./ชม.) อาจสร้างความเสียหายให้กับหลังคาบ้าน กิ่งก้านของต้นไม้ใหญ่จะหัก สร้างความเสียหายต่อสายไฟและเสาไฟฟ้า มีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดไฟฟ้าดับ 2-3 วัน
  • ระดับ 2 ความเร็วลม 96-110 ไมล์/ชม. (154-177 กม./ชม.) สร้างความเสียหายให้กับหลังคา-ผนังบ้าน ต้นไม้ที่รากไม่แข็งแรงจะหักโค่น มีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดไฟฟ้าดับหลายวันถึงหลายสัปดาห์
  • ระดับ 3 ความเร็วลม 111-129 ไมล์/ชม. (178-208 กม./ชม.) โครงบ้านอาจได้รับความเสียหาย หลังคาปลิว ต้นไม้ส่วนใหญ่จะหักโค่น มีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดไฟฟ้าดับหลายวันถึงหลายสัปดาห์
  • ระดับ 4 ความเร็วลม 130-156 ไมล์/ชม. (209-251 กม./ชม.) โครงสร้างหลังคาบ้านส่วนใหญ่และ/หรือผนังด้านนอกบางส่วนจะปลิว ต้นไม้ส่วนใหญ่จะหักหรือถอนรากถอนโคน ไฟฟ้าจะดับหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน พื้นที่ส่วนใหญ่จะไม่สามารถอยู่อาศัยได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน
  • ระดับ 5 ความเร็วลมมากกว่า 157 ไมล์/ชม. (มากกว่า 252 กม./ชม.) บ้านจะถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ต้นไม้และเสาไฟฟ้าล้ม ไฟฟ้าจะดับหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน พื้นที่ส่วนใหญ่จะไม่สามารถอยู่อาศัยได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน

พายุเฮอริเคนตั้งแต่ระดับ 3 เป็นต้นไปถือว่าเป็นพายุที่อาจสร้างอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

แต่ล่าสุดนักวิทยาศาตร์ได้ทำการศึกษาและเสนอแนะให้ขยายการจำแนกระดับของพายุเฮอริเคนให้มีพายุ “ประเภท 6” (Category 6) เพิ่มไปอีกระดับจากเดิมที่มีแค่ 5 ระดับ

ทีมวิจัยระบุว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีพายุ 5 ลูกที่ควรถูกจัดอยู่ในกลุ่มพายุความรุนแรงระดับ 6 ใหม่นี้ รวมถึงพายุเฮอริเคนทั้งหมดที่มีความเร็วลมคงที่ 192 ไมล์/ชม. (308 กม./ชม.) หรือมากกว่า

การศึกษาพบว่าพายุเฮอริเคนขนาดความรุนแรงดังกล่าวมีแนวโน้มเกิดมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากอุณหภูมิของมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศที่ร้อนขึ้นจากภาวะโลกร้อนและวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

ไมเคิล เวห์เนอร์ นักวิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอว์เรนซ์เบิร์กลีย์ หนึ่งในทีมวิจัยที่เสนอการจัดระดับพายุระดับ 6 กล่าวว่า “ความเร็ว 192 ไมล์ต่อชั่วโมงน่าจะเร็วกว่ารถเฟอร์รารีส่วนใหญ่ มันยากที่จะจินตนาการด้วยซ้ำ”

พายุระดับ 5 ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เช่น พายุเฮอริเคนแคทรีนาที่ทำลายล้างนิวออร์ลีนส์ในปี 2005 และพายุเฮอริเคนมาเรียที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อปวยร์โตริโกในปี 2017 แต่การศึกษาใหม่ระบุว่า ขณะนี้มีพายุที่รุนแรงยิ่งกว่านั้นอีก

ตัวอย่างเช่นไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 6,000 คนในฟิลิปปินส์เมื่อปี 2013 และเฮอริเคนแพทริเซีย ซึ่งมีความเร็วลมสูงสุดถึง 215 ไมล์ต่อชั่วโมงเมื่อมันก่อตัวใกล้เม็กซิโกในปี 2015

“ยังไม่มีเฮริเคนรุนแรงระดับนั้นในมหาสมุทรแอตแลนติกหรืออ่าวเม็กซิโก แต่มีเงื่อนไขที่เอื้อให้เกิดพายุเฮอริเคนระดับ 6 โชคดีที่มันยังไม่เคยเกิด” เวห์เนอร์ กล่าว

เขาเสริมว่า “ผมหวังว่ามันจะไม่เกิดขึ้น แต่มันเป็นเพียงการเสี่ยงดวง เรารู้ดีว่าพายุเหล่านี้รุนแรงขึ้นแล้ว และจะยังคงเป็นเช่นนั้นต่อไป”

แม้ว่าวิกฤตสภาพภูมิอากาศจะไม่ได้ทำให้จำนวนพายุเฮอริเคนทั้งหมดเพิ่มขึ้น แต่นักวิจัยพบว่า ความรุนแรงของพายุได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากการสำรวจด้วยดาวเทียมในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา มหาสมุทรที่มีความร้อนจัดกำลังกลายเป็นแหล่งพลังงานให้พายุเฮอริเคนมีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยได้รับความช่วยเหลือจากบรรยากาศที่อบอุ่นและเต็มไปด้วยความชื้น

เวห์เนอร์ กล่าวว่า มาตรวัดซาเฟียร์-ซิมป์สันเป็นมาตรวัดที่ไม่สมบูรณ์สำหรับอันตรายที่เกิดกับผู้คนจากพายุเฮอริเคน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากฝนตกหนักและน้ำท่วมชายฝั่งมากกว่าลมแรงเอง แต่ระดับ 6 จะเน้นย้ำถึงความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นจากพายุเฮอริเคน

“จุดประสงค์หลักของเราคือการสร้างความตระหนักรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังส่งผลกระทบต่อพายุที่รุนแรงที่สุด” เขากล่าว

ทั้งนี้ ยังคงต้องรอดูกันต่อไปว่า จะมีการรับรองหรือประกาศให้มีการวัดระดับความรุนแรงพายุระดับ 6 เพิ่มตามคำเรียกร้องของนักวิทยาศาสตร์หรือไม่ แต่สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ โลกกำลังเลวร้ายขึ้นทุกวัน ซึ่งสาเหตุก็ไม่ใช่ใคร แต่คือพวกเราทุกคนนั่นเอง

เรียบเรียงจาก National Hurricane Center /The Guardianคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

"9 ของไหว้ตรุษจีน" เช็กอาหารคาว-หวาน-ผลไม้มีอะไรบ้าง พร้อมความหมาย

โปรแกรมฟุตบอลเอเชียน คัพ 2023 รอบ 4 ทีม พร้อมเวลาแข่งขัน

เพื่อนแฉ! "ช่างกิต" ไม่รู้ "น้องพร" มีผัว หลงหนักถึงขั้นมาหากันทุกวัน

By admin

Related Post